กสพท คืออะไร น้องๆ ที่อยากจะเป็นแพทย์ ห้ามพลาดเด็ดขาด สำคัญมาก

กสพท คือ

เพื่อไม่ให้เสียเวลา วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ กสพท คือการสอบอะไร และเราจะช่วยให้การวางแผนการสอบวิชาเฉพาะแพทย์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า TPAT1 ความถนัดแพทย์ กสพท เป็นยังไงบ้างจะเปลี่ยนจากเดิมขนาดไหน คือเมื่อก่อนเนี่ยต้องอธิบายก่อนว่าตั้งแต่ปี 2565 ย้อนกลับไปน้องๆ ที่สนใจอยากเป็นหมอ หรือแพทย์จะสอบวิชาความถนัดแพทย์ในข้อสอบเก่าวิชาเฉพาะทางของ กสพทที่จะถูกจัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี ทุกคนจะได้สอบในช่วงเดือนมีนาคมพร้อมๆ กับการสอบ GAT/PAT ในวิชาสามัญ

แต่จากนี้ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไปการสอบวิชาเฉพาะความถนัดแพทย์ กสพทจะเปลี่ยนไปจะเปลี่ยนเป็นข้อสอบชุดใหม่ที่ชื่อว่า TPAT1 ความถนัดแพทย์ กสพท และที่สำคัญจะย้ายมาสอบในช่วงกลางเดือนธันวาคมก่อนคริสต์มาส ถ้าให้พูดง่ายๆ คือน้องๆ จะต้องสอบเร็วขึ้น และมีเวลาเตรียมตัวสอบลดน้อยลง

วันนี้เราเลยต้องมาคุยกันถึงวิชาเฉพาะความถนัดแพทย์ กสพทจะเป็นเรื่องหมอๆ ประมาณไหน และต้องขอบอกก่อนว่ามันไม่ใช่การติวข้อสอบนะวันนี้ แต่จะเป็นการมาไขข้อข้องใจ และการเตรียมตัวสอบรวมถึงอธิบายหลักการของข้อสอบความถนัดแพทย์ กสพท ให้น้องทุกคนได้เข้าใจ และเตรียมตัวให้ถูกต้องเดี๋ยวไปดูพร้อมๆ กันเลย

แนวทางใหม่กสพทที่แตกต่างแต่เหมือนเดิม

ปัจจุบันนี้เรียกว่าการสอบวิชาเฉพาะความถนัดแพทย์ กสพทที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นการสอบ TPAT ความถนัดแพทย์ ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนการสอบหลักๆ ก็คือ

  • TPAT11
  • TPAT12
  • TPAT13

TPAT11 คือการสอบเชาวน์ปัญญา จะให้เวลาสอบมากยิ่งขึ้นจากเดิม 1 ชั่วโมงเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมง 15 นาที เพราะเป็นวิชาคำนวนจึงจำเป็นต้องให้เวลาในการสอบเพิ่มมากยิ่งขึ้น

TPAT12 คือการสอบจริยธรรมทางการแพทย์เวลาที่ใช้ในการสอบจะเท่าเดิม ไม่มีการเพิ่มเวลา หรือลดเวลาลงให้เวลา 1 ชั่วโมงเท่าเดิม และข้อสอบในปี 2565 มีจำนวนข้อสอบเพียง 60 ข้อเท่านั้น

TPAT13 คือการสอบทักษะการเชื่อมโยง ในส่วนนี้แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิมเลย ยังคงให้เวลาในการสอบเท่าเดิมคือ 1 ชั่วโมง

โดยรวมแล้วกสพท กับ TPAT จะต่างกันแค่ไหน

สรุปง่ายๆ ก็คือการสอบวิชาเฉพาะ กสพท หรือ TPAT ความถนัดแพทย์ มันก็เหมือนกับเหล้าเก่าในขวดใหม่ และสิ่งสำคัญที่ใครๆ หลายคนกังวลว่าข้อสอบจะเปลี่ยนไปไหม น้องๆ หลายคนไม่ต้องกังวลอีกต่อไปแล้ว เพราะว่าข้อสอบไม่ได้เปลี่ยนไป จะเปลี่ยนแค่เพียงชื่อกับรูปแบบ และเวลาที่จะสอบเท่านั้นยกตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาที่จะสอบย้ายมาจากเดือนมีนาคมเป็นเดือนธันวาคม

และก็ชื่อวิชาเปลี่ยนชื่อจากการสอบเชาวน์ปัญญา การสอบจริยธรรมทางการแพทย์ การสอบทักษะการเชื่อมโยงวิชาเฉพาะ กสพท เป็น TPAT ความถนัดแพทย์เท่านั้นเอง และก็ปรับเวลานิดหน่อยจากเมื่อก่อนเคยให้สอบทุกวิชาเท่าๆ กัน ตอนนี้ให้เวลาการสอบเชาวน์ปัญญาเยอะขึ้นมานิดนึง เพราะต้องใช้การคำนวณ ผู้จัดสอบเลยต้องการให้เวลามากกว่าเดิม การสอบจริยธรรมทางการแพทย์ การสอบทักษะการเชื่อมโยง ยังคงได้เวลาเท่าเดิมในการสอบคือ 1 ชั่วโมง

เดี๋ยวจะหาว่ากสพท กับ TPAT ว่าไม่ปรับอะไรเลย

นอกจากนี้ก็ยังมีการปรับจำนวนของข้อสอบ ของการสอบจริยธรรมทางการแพทย์รูปแบบใหม่ จะมีจำนวนข้อสอบเพียง 60 ข้อเท่านั้น และเปิดรับสมัครสอบ TPAT ประมาณช่วงเดือนกันยายนผ่านช่องทางการสมัครของ กสพทเมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว จึงเปิดทำการสอบในช่วงเดือนธันวาคมต่อไป

ซึ่งตรงนี้มีประเด็นที่ใครหลายๆ คนตั้งข้องสังเกตว่าการรวมวิชาหลักๆ ใหญ่ๆ ขนาดนี้มาสอบมันเท่ากับทำให้ตัวชี้วัดในแต่ละวิชาค่อนข้างใหญ่มาก โอกาสที่น้องจะได้ย้อนกลับมาสอบเข้าหมออีกครั้งถือว่ายากมาก

เคล็ดลับสำหรับการทำคะแนนเพื่อสอบ TPAT หรือ กสพทเดิม

แม้ในการสอบครั้งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักได้แก่ส่วน TPAT11 คือการสอบเชาวน์ปัญญา TPAT12 คือการสอบจริยธรรมทางการแพทย์ และ TPAT13 คือการสอบทักษะการเชื่อมโยงข้อสอบส่วนใหญ่ จะเป็นข้อสอบที่ถามตรงไปตรงมา ก็จะได้คะแนนอยู่ประมาณ 70- 80 คะแนนแต่หนึ่งในข้อสอบทั้ง 3 ส่วนนี้มีส่วนหนึ่งที่มีโอกาสจะทำคะแนนได้ 100 คะแนนเต็ม เราจำเป็นที่จะต้องฝึกกับข้อสอบเก่าเยอะๆ แพทย์ไม่ได้จำเป็นจะต้องมีแค่จริยธรรมทางการแพทย์เท่านั้น

แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้เราได้คะแนน 100 คะแนนเต็มมาจากส่วน TPAT13 คือการสอบทักษะการเชื่อมโยงลองฝึกทำกับข้อสอบทักษะการเชื่อมโยงชุดเก่าๆ จับรูปแบบของข้อสอบให้ได้ เมื่อชำนาญแล้วโอกาสที่เราจะเข้าใจแนวข้อสอบชุดปัจจุบัน ก็มีค่อนข้างสูง จึงเป็นหนึ่งส่วนที่มีโอกาสจะทำคะแนนได้ 100 คะแนนเต็ม ณ จุดตรงนี้ เคล็ดลับคือแนวของข้อสอบจะเหมือนเหมือนกัน ถ้าเราจับทางได้ถูกต้องก็ไม่มีอะไรยาก การวัดในส่วนนี้คือการวัดทักษะการเรียนรู้ ถ้าเราจับวิธีการเรียนรู้ของกสพทได้ถูกต้อง โอกาสที่จะได้คะแนนเต็มมีสูงมาก

อีกหนึ่งส่วนของการสอบที่สามารถทำคะแนนได้รองลงมาก็คือ TPAT11 คือการสอบเชาวน์ปัญญานั่นเอง พูดตรงๆ ก็คือวัดไอคิวนั่นแหละ คือเขาเชื่อว่าพื้นฐานสมองสำคัญมากกับการเรียนรู้ และเราต้องยอมรับความจริงก่อนว่ามนุษย์ทุกคน เกิดมาไม่ได้มีความฉลาดเท่ากันนี่คือจุดประสงค์ของการวัดในส่วนนี้ วัดเพื่อตามหาค่าของสมองว่าพื้นฐานของสมองน้องๆ นั้นฉลาดมากน้อยเพียงใด

ซึ่งเราได้บอกไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า TPAT13 การสอบทักษะการเชื่อมโยงคือการสอบ เพื่อตามหาทักษะการเรียนรู้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน แต่จะบอกว่า TPAT11 การสอบเชาวน์ปัญญาจะวัดแค่เพียงพื้นฐานของสมองอย่างเดียวก็ไม่ใช่ เพราะโดยปกติแล้วสมองเราจะถูกพัฒนาขึ้นได้ ถ้าได้รับการฝึกฝนเยอะๆ สมองก็จะพร้อมรับข้อมูล และวิเคราะห์ประมวลผล ออกมาได้รวดเร็ว และฉับไวมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งสำคัญก็คือพื้นฐานของสมอง ถ้าสมองเดิมที่ดีอยู่แล้ว และยิ่งฝึกฝนด้วย ก็จะยิ่งทำให้ได้สมองที่มีคุณภาพสูงมากยิ่งขึ้น

ส่วนน้องๆ หลายคนที่อาจจะยอมรับว่าตัวเองไม่ได้ฉลาดมาตั้งแต่แรก แต่ได้รับการฝึกฝน และพยายามมากกว่าคนอื่นโดยทั่วไป ก็มีความเป็นไปได้ที่น้องๆ จะมีความฉลาด เพราะเกิดจากการทุ่มเท การสอบเชาวน์ปัญญาก็คือหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ชี้วัด ว่าในปัจจุบันนี้ สมองของน้องๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ข้อสอบในส่วนนี้ก็จะเป็นการคำนวณอนุกรม แล้วก็เรื่องอื่นๆ อีกมากมายเรียกว่าจับฉ่าย แนวเดิมๆ ตามสไตล์ข้อสอบของกสพท

TPAT หรือ กสพทไม่ปล่อยให้จริยธรรมผ่านไปง่ายๆ แน่นอน

หลายๆ คนคงไม่เชื่อว่าการสอบที่ยากที่สุดจะเป็นการสอบ TPAT12 คือการสอบจริยธรรมทางการแพทย์ข้อสอบในชุดนี้ไม่ได้ วัดทักษะการเรียนรู้ หรือวัดความพร้อมของสมอง แต่ข้อสอบชุดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นจิตวิทยา เพื่อวัดหาคุณธรรมในจิตใจของแต่ละคน อธิบายได้ง่ายๆ เลยว่า เขาต้องการรู้ว่านิสัยของแต่ละคนนั้น พร้อมที่จะมาเป็นหมอมากน้อยเพียงใดมีจิตใจในการแบ่งปัน มีจิตใจในการช่วยเหลือต่อสังคมมากน้อยแค่ไหนกสพท ให้ความสำคัญกับข้อสอบชุดนี้มาก

และเท่าที่ผ่านมา เด็กๆ หลายคนที่สอบจริยธรรมทางการแพทย์มักได้คะแนนน้อยมากมาตลอด ไม่ต้องคาดหวังว่าจะได้คะแนนเยอะ จากการสอบในลักษณะนี้ ถ้าจิตใจของคุณมุ่งมั่นที่อยากจะเป็นหมอ โดยไม่สนใจเรื่องจริยธรรมอย่างแท้จริง คุณไม่มีทางทำข้อสอบชุดนี้ได้คะแนนเยอะแน่นอน

จากข้อมูลของผู้ที่ทำการสอบก่อนหน้านี้ได้อันดับที่หนึ่ง สามารถทำคะแนนการสอบจริยธรรมทางการแพทย์ได้สูงเพียงแค่ 68 คะแนนเท่านั้นเอง ถามว่าเป็นเพราะอะไร ต้องยอมรับในสภาพสังคมก่อน เพราะว่าสังคมไทยในยุคปัจจุบันถูกสั่งสอนให้ แย่งชิง แข่งขัน เอาตัวรอด ไม่ได้ถูกฝึกให้คนแบ่งปัน เผื่อแผ่ และเสียสละ ข้อสอบชุดนี้ถูกออกแบบโดยนักจิตวิทยา บางคนเข้าใจว่า การสอบย่อมมีข้อที่ถูก และผิด แต่สำหรับในการสอบครั้งนี้ กสพท ต้องการทดสอบใจ ไม่ใช่ทดสอบสมอง หรือความสามารถเลย

ทำให้หัวกะทิทั้งหลายรวมไปถึงเด็กๆ ในสังคมยุคปัจจุบันที่ต้องการเป็นหมอ เพียงเพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่ดี มีรายได้ที่สูง แต่ไม่ได้เข้าใจแก่นแท้ของความเป็นหมอ ทำคะแนนออกมาได้ไม่ดีนัก ถ้าคุณคิดว่าคุณดีพอ มีเข้าใจถึงจิตใจคน มั่นใจว่าทำคะแนนได้เยอะแน่นอนก็ลองดู เพราะทางกสพทมีเจตนาทำให้ข้อสอบชุดนี้ TPAT12 การสอบจริยธรรมทางการแพทย์เป็นเหมือนภาระ ที่คอยถ่วงไม่ให้คุณได้ทำตามใจชอบ ถ้าหากยังไม่เข้าใจแก่นแท้ของความเป็นหมอ

สรุปปิดท้ายการสอบกสพทเปลี่ยนไปใช่ หรือไม่

อธิบายง่ายๆ ยังคงเป็นแนวทางแบบเดิมข้อสอบเหมือนเดิม แต่ปรับเปลี่ยนนิดหน่อยตามยุคตามสมัย แก้ไขข้อบกพร่อง และปรับปรุงให้มันตอบโจทย์ความต้องการมากกว่าเดิม เลื่อนวันเวลาในการสอบเข้ามานิดนึง จากเดิมที่เป็นช่วงเดือนมีนาคมก็ขยับเข้ามาเป็นช่วงเดือนธันวาคม และนอกจากนี้เราก็ได้แนะนำถึงเคล็ดลับในการสอบวิชาเฉพาะ กสพท หรือ TPAT ความถนัดแพทย์ในชื่อใหม่ กันไปบ้างแล้ว หวังว่าน้องๆ คงเอาข้อมูลที่ได้ไปปรับ และทำการเตรียมตัวสอบให้พร้อมกันนะ ขอให้โชคดี